Blog
23 FEB 2021
การตลาดที่มองเห็นได้จากการประกาศผลประกอบการปี 2020
เข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ หนังสือพิมพ์และสื่อหลายสำนักเริ่มเปิดเผยข้อมูลของธุรกิจที่ผลประกอบการปี 2020 ดีและไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด จากข่าวที่รายงานในหนังสือพิมพ์ Nikkei ตั้งแต่กลางเดือนมกราคมเป็นต้นมาถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ หลายๆ บริษัทในธุรกิจต่อไปนี้มีผลประกอบการ “สูงกว่าหรือเป็นไปตามแผนที่วางไว้”
- เว็บซื้อขายออนไลน์ (E-Commerce site)
- สุขภาพ
- เกม
- Semi Conductor
- การแพทย์ / การรักษาพยาบาล
- 5G
- คอนเทนเนอร์
- ส่งของ / ขนส่งต่างประเทศ
- Share Office
- ซื้อขายหุ้นผ่านอินเตอร์เน็ต
- เครื่องมืออุปกรณ์สำนักงาน
- Functional film สำหรับ LCD
- เวชภัณฑ์
- เครื่องมือช่าง
- อุปกรณ์เพาะปลูก
- การซื้อกิจการบริษัท
- ค้อน
- เครื่องปรุง
- อาหารแช่เย็นสำเร็จรูป
- เครื่องใช้ไฟฟ้า (PC / TV)
- อุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ สาย LAN
ในโลกของ Digital marketing การสร้างสมมติฐานเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะของกลุ่มเป้าหมายจากการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นหรือ Persona Analysis เป็นสิ่งที่เราทำกันอยู่เสมอ หากพิจารณาจากชนิดของธุรกิจที่ผลประกอบการมีเสถียรภาพข้างต้น เราสามารถมองเห็นภาพได้ว่าผู้คนส่วนใหญ่ “ต้องการอะไรและทำกิจกรรมอะไร” ในช่วงโควิดกันบ้าง การสร้างสมมติฐานเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายโดย Persona Analysis ครั้งแล้วครั้งเล่า บวกกับการทดลองปรับเปลี่ยนวิธีการหลายๆ ครั้ง ช่วยให้เราสามารถทำการตลาดได้ถูกต้องตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น จากมุมมองดังกล่าว เราสามารถสันนิษฐานบุคลิกลักษณะของกลุ่มเป้าหมายจากชนิดของธุรกิจที่กล่าวข้างต้นได้ดังนี้
- คนที่ใช้เวลาในการทำงานน้อยลงเนื่องจาก Work from home จึงมีเวลารับประทานอาหารเช้าเพิ่มขึ้น และมีโอกาสทำอาหารเองเพิ่มขึ้น
หรือคนที่ซื้อเซ็ตอุปกรณ์สำหรับปลูกต้นไม้ผ่านเว็บซื้อขายออนไลน์ เพื่อเริ่มต้นปลูกผักสวนครัวเพื่อนำไปทำอาหาร
- คนที่มีความจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่บ้านให้พร้อมมากขึ้น จึงซื้ออุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บซื้อขายออนไลน์ และซื้อเซ็ตอุปกรณ์ช่างที่ปกติไม่เคยมี เพื่อให้สามารถรีโนเวตที่พักอาศัยแบบง่ายๆ ด้วยตัวเองได้
- คนที่ใช้เวลาไปกับการซื้อขายหุ้นผ่านอินเตอร์เน็ตมากขึ้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางลดลง เพราะการออกไปนอกบ้านทำได้ยากขึ้น
Digital marketing ซึ่งสิ่งจำเป็นสำหรับ E-Commerce ฯลฯ ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นมาวันนี้หรือเมื่อวานนี้ แต่เป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่ปี 1990 แต่ในเวลานั้นการทำ Digital marketing ยังอยู่ในวงแคบ แต่หลังจากการเกิดขึ้นของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง สภาพแวดล้อมการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้รับการปรับปรุงขึ้นมาก ประกอบกับความแพร่หลายของอุปกรณ์เคลื่อนที่เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุคและสมาร์ทโฟน ทำให้ขอบเขตของการทำ Digital marketing กว้างขึ้น ประเทศไทยนับได้ว่าเป็นประเทศที่มีความแพร่หลายด้าน Digital marketing เร็วกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความแพร่หลายนั้นก็มีมากขึ้น เมื่อเกิดวิกฤติโควิด 19
ต้นปี 2020 การระบาดของโควิดในประเทศไทยเริ่มขยายวงกว้าง และมีการประกาศภาวะฉุกเฉินตั้งแต่เดือน เม.ย. ทำให้ประชาชนไม่สามารถเดินทางออกนอกบ้านได้ ส่งผลกระทบต่อการซื้อขายสินค้าต่างๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า ฯลฯ อย่างมาก ในสภาวการณ์ดังกล่าว ความต้องการซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ธุรกิจส่งสินค้าโดยใช้มอเตอร์ไซด์ เช่น GRAB BIKE, LINEMAN กลายเป็นธุรกิจที่โอบอุ้มการใช้ชีวิตของผู้คน นอกจากนี้ธุรกิจต่างๆ เริ่มหันมาใช้ Digital marketing กันอย่างจริงจังเพื่อหาวิธีขายสินค้าและให้บริการแก่ลูกค้าให้ได้มากที่สุด ในภาวะที่คนไม่สามารถออกนอกบ้านได้
ภาพด้านล่างนี้คือความเคลื่อนไหวของระดับความนิยมในคำว่า Digital marketing ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน เป็นกราฟแสดงคะแนนการค้นหาคำนี้ใน Google แน่นอนว่าตั้งแต่โควิดเริ่มระบาด ความนิยมในคำนี้ก็เพิ่มมากขึ้น และความนิยมก็ขึ้นไปสู่จุดสูงสุดในช่วงที่จำนวนคนติดเชื้อเพิ่มสูงในเดือนมีนาคม 2563 และหลังจากนั้นก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความนิยมในคำวา Digital marketing ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในเดือนถัดไปจากเดือนมีนาคมและธันวาคมซึ่งเป็นช่วงที่ได้ชื่อว่าโควิดมีอันตรายสูง ITP เองจับตามองการขึ้นลงของเทรนนี้อยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อการวิเคราะห์สภาวะตลาดที่ถูกต้อง

ITP มีทีม INTEGRATED MARKETING ซึ่งดูแลรับผิดชอบการทำการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจของลูกค้า ทีม INTEGRATED MARKETING เป็นทีมงานมืออาชีพ ทำหน้าที่วิเคราะห์แนวโน้มตลาด ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย คาดการณ์ว่ามีกลุ่มเป้าหมายใดในตลาดบ้าง และกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีความต้องการอะไร เพื่อนำเสนอความคิดให้กับลูกค้าของเราว่าควรจะนำเสนอบริการใดเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเพื่อยกระดับการดำเนินชีวิตของคนไทยทุกคน ตลอดจนนำเสนอแนวทางสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างผู้ผลิตสินค้า/บริการและผู้บริโภคเพื่อให้ทุกคนสามารถก้าวผ่านวิกฤติโควิดไปด้วยกันได้อย่างราบรื่น พนักงาน ITP ทุกคนมีความตั้งใจที่จะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจให้กับลูกค้าและสร้างประโยชน์เพื่อคนไทยทุกคน
พวกเรา ITP หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราทุกคนจะผ่านพันวิกฤติโควิดนี้ไปได้ในอนาคนอันใกล้นี้ และหวังว่าทุกๆ คนจะสามารถกลับมาใช้ชิวิตอย่างสงบสุขปลอดภัย และกลับมาดำเนินธุรกิจได้โดยปกติในเร็ววัน
-------------------------------
บทความโดย Yoshikazu Koyama
ประธานบริษัท ISHIDA TAISEISHA (THAILAND) CO., LTD.
จบปริญญาตรีปี 2542 เข้าทำงานในบริษัทผลิตคอนเทนต์ที่ประเทศญี่ปุ่น ผ่านการทำงานในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศกว่าสิบปี จากนั้นเข้าทำงานในบริษัท ITP ในปี 2553 ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดของ ITP สาขาประเทศไทย รับผิดชอบด้านการตลาดในไทย กัมพูชา พม่า นอกจากนี้ยังรับผิดชอบฝ่าย Digital marketing / IT application development และ ฝ่าย Localization ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานบริษัท ITP สาขาประเทศไทย รวมทั้งดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ITP-SVEN ฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ITP และ SVEN (บริษัท Digital Marketing รายใหญ่ของฟิลิปปินส์) ในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน มีประสบการณ์การทำงานในต่างประเทศกว่า 14 ปี